วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ตอบ - ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยัง เครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็น โปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
ตอบ - คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไร
ตอบ - 3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

4. ท่าน คิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
ตอบ - คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ E-Commerce


1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business – B2B) คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
2.ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
3.ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government – B2G)
คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
4.ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer - C2C) คือ การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น





ประเภทของ E-commerce

โครงสร้างเครือข่าย

1.อินทราเน็ต (intranet)
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

การประยุกต์ใช้งานอินทราเน็ต

การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น การจัดการเอกสารข้อมูล, การตีพิมพ์และกระจายข่าวสาร, การจองห้องและอุปกรณ์, ห้องสนทนา (Chat Room), เว็บบอร์ด (Web Board), อัลบั้มรูป, การจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่นๆ อีกมากมาย
โดยแนวโน้มการใช้งานของอินทราเน็ตในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) มีการดึงเอาสังคมออนไลน์ (Social Network) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อและช่วยประสานการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทหรือองค์กรที่ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พบว่าการนำเอาสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันสนับสนุนให้การทำงานของอินทราเน็ตเป็นมากกว่าเครือข่ายเฉพาะภายในองค์กรที่ใช้จัดเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงเอาแอพพลิเคชันต่างๆเข้ามาใช้งานร่วมกับอินทราเน็ตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



2.เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)

เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่าย เอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี

EXTRANET (เอ็กซ์ทราเน็ต) หมายความถึง การติดต่อระบบเครือข่ายออกไปภายนอก องค์กรของเราตัวอย่างเช่นการที่เรามีระบบเครือข่ายภายในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น 1 หรือ 2 เครือข่าย


บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต (The Role of Extranets)
บทบาทของเครือข่ายภายนอกนั้นมีหลายประการด้วยกัน ประการแรกคือเทคโนโลยีของเว็บเบราเซอร์ ช่วยให้ลูกค้าและร้านค้าต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายภายในได้อย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็วด้วย ประการที่สองบริษัทมีการนำเสนอเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับหุ้นส่วนธุรกิจของบริษัทในเรื่องของการบริการได้ จะเห็นได้ว่า เครือข่ายภายนอกนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้า และร้านค้าต่างๆ เป็นอย่างดี
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิด (Open Internet Technologies) หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้า การประหยัดต้นทุน การตลาด การกระจายสินค้า และเพิ่มความเป็นหุ้นส่วนเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อติดต่อระหว่างอินทราเน็ตของธุรกิจกับอินทราเน็ตของลูกค้า ผู้ขาย และหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยติดตั้งเครือข่ายส่วนตัวโดยตรงที่เชื่อมระหว่างกันหรือสร้างอินเทอร์เน็ตส่วนตัวที่มีความปลอดภัยเชื่อมโยงระหว่างกัน ที่เรียกว่า เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network) หรือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเอ็กซ์ทราเน็ตที่เชื่อมโยงระหว่างอินทราเน็ตของบริษัทกับผู้บริโภคและอื่นๆ มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของ เอ็กซ์ทราเน็ต ทำให้ลูกค้าและผู้ขายเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นกว่าวิธีการทางธุรกิจแบบเดิม ปัจจัยที่สอง เอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนทางที่ธุรกิจสามารถสร้างและทำให้เกิดกลยุทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ทำให้เกิดการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างธุรกิจกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกแบบออนไลน์ให้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงโต้ตอบ การตลาด และกระบวนการที่เน้นลูกค้า

ตัวอย่างของเอ็กซ์ทราเน็ต
Countrywide Home Loans ได้สร้างเอ็กซ์ทราเน็ต ที่เรียกว่า Platinum Lender Access สำหรับหุ้นส่วนกู้ยืม นายหน้า และธนาคารประมาณ 500 แห่ง ให้สามารถเข้าถึงอินทราเน็ตและฐานข้อมูลการเงิน เข้าถึงบัญชีและสารสนเทศรายการเปลี่ยนแปลง สถานะเงินกู้ และประกาศของบริษัท ผู้ให้กู้และนายหน้าแต่ละรายถูกระบุตัวอัตโนมัติโดยเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมสารสนเทศในเรื่องของอัตราเบี้ยประกัน ส่วนลด และข้อตกลงพิเศษอื่นๆ Marshall Industries ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อให้ลูกค้าและผู้ขายสามารถเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตของ Marshall ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Partner Net เช่น ผู้ขายสามารถใช้ระบบจุดขาย (Point–of-sale) เพื่อรายงานสถานะของสินค้าคงคลังได้ทุกเวลา ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ต้องการ เช่นเดียวกับสถานะคำสั่งซื้อที่ได้สั่งซื้อไว้ก่อนหน้า ซึ่งเอ็กซ์ทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มยอดขายและกำไร ขณะที่ตัดพนักงานขายและค่าใช้จ่ายลง

ตัวอย่างของเครือข่ายภายนอก (Extranets Example) มีธนาคารกว่า 500 แห่งและนายหน้าต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน Intranet และเลือกฐานข้อมูลทางด้านการเงินต่างๆ นอกจากนี้ เอ็กทราเน็ตยังอำนวยความสะดวกในการให้นายหน้าเหล่านั้น สามารถเข้าถึงบัญชีของเขา ,การประมวลผล สารสนเทศ, สถานการณ์ให้เช่ายืม และการประกาศข่าวสารต่างๆ ของบริษัท ในโรงงานอุตสาหกรรม Marshall มีการใช้ Extranets โดยมีชื่อเรียกว่า Partner Net

อนาคตของเอ็กทราเน็ต (Extranets)

1. US West Facility Check บริษัท US West ได้นำ Intranets มาประยุกต์ใช้ โดยมีชื่อเรียกว่า Facility Check โดยใช้งานด้านการบริการข่าวให้กับพนักงาน, บริการสารสนเทศให้กับพนักงาน, ใช้ในการอ้างอิงเกี่ยวกับวัตถุดิบ, อำนวยความสะดวกในฐานะเป็นชุมชนของพนักงาน, จัดเก็บรายละเอียด ของผลิตภัณฑ์, ใช้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทคู่แข่ง เป็นต้น ใน 2-3 ปี ที่ผ่านมาเศรษฐกิจเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยความต้องการของลูกค้ามีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้สายโทรศัพท์ เหตุผลเพราะสามารถ ใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้
2. การวางแผนอื่นๆ ในอนาคต (Other Plans for the Future) บริษัท Chrysler มีการใช้ Intranets ใน 7 หน่วยงานหลักๆ One Servers สามารถสนับสนุนวิศวกรได้ถึง 6,000 คน และยังสามารถช่วยจัดการ เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณทางด้านบัญชี และผู้ใช้คนอื่นๆ ก็ยังสามารถเข้ามาดูสารสนเทศด้านการเงินได้, มีการสร้างความสัมพันธ์กับสถานที่สาธารณะอื่นๆ เช่น หน่วยงานราชการ, นอกจากนี้ยังมีการขยายออกไป โดยใช้อินเตอร์เน็ต นั่นคือสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาช่วยงานด้านวารสารสิ่งพิมพ์บริษัท Entergy ใช้ Intranets ผ่าน Entergy Net บริการ พนักงาน 12,000 คนในรัฐต่างๆ บางคนก็ใช้ในการเรียกดูสารสนเทศของตนเอง, บางคนก็มีการอ่านข่าวจากแผงข่าวอิเล็กทรอนิกส์ และมีการ ส่งข่าวของตนเองไปประกาศบนแผงข่าวด้วย US West วางแผนจะขยาย Global Village Intranets นั่นคือมีการเชื่อมโยงการสื่อสาร ถึงกันในหมู่บ้าน โดยให้ลูกบ้านสามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และมีการใช้อินทราเน็ต ส่งจดหมายข่าวถึงกันภายในบริษัท, มีการประกาศข่าวผ่านแผงข่าวอิเล็กทรอนิกส์ และส่งข่าวสารเกี่ยวกับ นโยบายของบริษัทให้ผู้คนได้รับทราบ สำหรับพนักงานของบริษัทบางคนก็ใช้อินทราเน็ตในการจัดทำรายงาน ของตนเอง และใช้ในการค้นหางานจากบริษัทต่างๆ

ความหมายของเว็บแต่ละประเภท


 Web1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น “ Read - Only” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค web1.0 คือเว็บไซต์ ต่างๆที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งจะส่งเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอผู้ที่มาเข้าชม ในทฤษฎีของการสื่อสารถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว (  one - way cmomunication  ) เพราะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่ได้รับข้อมูล
 ตัวอย่างลักษณะของเว็บไซต์ในยุค Web 1.0 GeoCities ซึ่งเป็นผู้ให้บริการฟรีโฮสติ้ง

 Web2.0 ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง “ Read – Write” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค Web 2.0 มีลักษณะเป็นการที่มีการแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มากกว่าที่จะเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว โดยผู้เข้าชมสามารถทำการแสดงความคิดเห็น หรือทำการสร้างเนื้อหาได้ อีกทั้งผู้เข้าชมยังสามารถกำหนดคุณค่าของเว็บไซต์หรือบทความผ่านกระบวนการ ต่างๆ เช่นการให้คะแนนเนื้อหา การแนะนำบทความให้กับผู้อื่นเป็นต้น
  ตัวอย่างลักษณะของเว็บไซต์ในยุค Web 2.0 Wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรมออนไลน์
  Web 2.0 : Social Networking

 Web3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต “ Read – Write – Execute” เป็นลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์และผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค Web 3.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถอ่าน เขียน และทำการจัดการเนื้อหาและปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้อย่างอิสระ เว็บไซต์จะมีการพัฒนาให้กลายเป็น Semantic Web ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายของข้อมูลขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการค้นหาและเข้า ถึงได้อย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตรงตามความต้อง การของผู้ใช้ได้
  ตัวอย่างลักษณะของเว็บไซต์ในยุค Web 3.0 Search Engine Google ที่เมื่อเราทำการสะกดคำที่ต้องการค้นหาผิด สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการหาเป็นอะไร และทำการแสดงผลของคำที่เราน่าจะต้องการมาให้

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์


HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกัน ผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

เว็บเพจ (Web Page) คืออะไร ?
เว็บเพจ คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน


โฮมเพจ  คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน  ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมากคะ

Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง  เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก   เรียกย่อว่า   เว็บ “  (   Web )  ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม  ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า  แต่ละหน้าเรียกว่า  เว็บเพจ”  ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ


เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

"URL (ยูอาร์แอล) ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต"  
ต่อครับ
ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อก่อนเราใช้ใช้ตัวเลขหลายหลักในการแทนชื่อเว็บไซต์ ทำให้เวลาจำแล้วกรอกตัวเลขในช่อง URL (ยูอาร์แอล) จำผิดกันมาก  เลยมีผู้คิดค้นสัญลักษ์แทนตัวเลข  จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมนเนม นั่นเอง  โดเมนเนม โฮสติ้ง คืออะไรตามต่อที่ ลิงค์

 โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย
                HTTP (Hyper Text Transport Protocol) HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้ งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่ง ข้อมูลไปอย่างไร โปรโตคอล HTTP นี้วิ่งอยู่บน TCP/IP อีกชั้ นหนึ่ง รูปแบบการทำงานจะไม่มีการจองสาย โดย client จะเรียก ข้อมูลจาก server โดยการส่ง request ไปแล้วจะตัดการติดต่อทันที จากนั้ นจะรอจนกระทั่ง server ส่งข้อมูลมาให้ ประโยชน์ ของการทำงานแบบไม่จองสายของ HTTP ทำให้ WWW server สามารถให้บริการ client ได้หลายๆ คนพร้อมๆ กัน การ สื่อสารของ WWW จึงมีประสิทธิภาพมากขึ้ น
                FTP (File Transfer Protocol) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ซึ่งอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Hyperlink คือ การเชื่อมโยงไฟล์ หรือการเชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซค์ต่าง ๆ และสามารถกำหนดข้อมูลว่าต้องการให้
เปิดหน้าต่างเบราเซอร์ใหม่ หรือเชื่อมโยงในหน้าต่างปัจจุบันก็ได้ ส่วนวิธีการนั้นมีขั้นตอน

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด
IP Addressที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
11101001/ 11000110/ 00000010/ 01110100
แต่เมื่อต้องการเรียกIP Address จะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขBinary หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
11101001 11000110 00000010 01110100
158
    . 108    . 2    . 71

เมื่อตัวเลข
IP Addressจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้IP Addressเริ่มหายากขึ้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1. Network Address
2.
Computer Address


Domain name คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป